เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเจอกับปัญหาเงินช็อต เงินติดลบ หมุนเงินไม่ทัน
ยืมเงินจากนั่น มาโปะนี่จนทำให้เปิดหนี้ท่วมหัว พอถึงสิ้นเดือนก็ใช้แต่หนี้
หมุนนั่นหมุนนี่ ไม่มีเงินเก็บสักที แต่หลายๆ คนก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี
วันนี้เรา จะนำเสนอ 6 วิธีการใช้ชีวิต หากวันใดวันหนึ่ง ชีวิตของใครหลาย
คนต้องประสบกับปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เงินติดลบ ไม่พอใช้
มาดูกันว่าเราจะมีวิธีการจัดการเรื่องเหล่านี้อย่างไรบ้าง
1. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
อันดับแรกต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองทุกวัน ในแต่ละเดือน
มีรายได้จากไหนบ้างพอใช้จ่ายหรือไม่ หรือในแต่ละเดือนต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง
เช่น ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าเดินทางค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนชำระหนี้สินค้า
ค่าใช้จ่ายสังสรรค์ แล้วรวมกันว่ามีค่าใช้จ่ายทั้งหมด เท่าไหร่ใช้เงินไปกับอะไรมากที่สุด
จำเป็นหรือไม่จำเป็นต่อชีวิต ถ้าไม่จำเป็นต้องเลิกหรือหยุดทันที หากใครไม่เคย
จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะทำให้ไม่รู้ว่าในแต่ละเดือนมีการใช้จ่ายอะไรบ้าง
และหมดไปกับอะไรบ้าง ดังนั้น เมื่อรู้ปัญหาแล้วว่าเงินหมดไปกับอะไร
หากเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่สามารถประหยัดได้ ควรประหยัดอย่างจริงจัง
2. หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม
ตามหลักความจริงแล้ว เมื่อเงินหมด ก็ต้องหาเพิ่ม เหมือนน้ำในตุ่มหมดก็ต้องตักมาเพิ่ม
ใครที่เป็นหนี้ เงินติดลบ ลองสำรวจตัวเองว่า มีของอะไรขายได้ มีความสามารถอะไร
หรือมองหาอาชีพเสริมที่พอสร้างรายได้ เช่น ทำกับข้าว ทำขนมขาย
หรือไม่ถ้ามีทักษะการขาย ก็หาซื้อสินค้าต่างๆไปขายตามตลาดนัด
หรือหากมีทักษะอื่นๆ ก็ทำได้เลยครับ
3. ตั้งสติเอาไว้ก่อน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง หยุดก่อหนี้ หยุดสร้างหนี้เพิ่มโดยเด็ดข าด
ไม่ว่าจะต้องลำบาก ขนาดไหน ที่สำคัญต้องหยุดหาหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่า
เพราะจะทำให้เป็นหนี้แบบงูกินหาง ไม่รู้จักจบ ต้องอยู่ให้ได้ด้วยเงินเดือนของตัวเอง
4. เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาหนี้
จ่ายขั้นต่ำเพื่อรักษาบัญชีและเครดิต วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีหนี้ไม่เยอะ อาจจะมีหนี้
เพียง 2-3 บัญชี แนะนำให้จ่ายขั้นต่ำตามใบเรียกเก็บเงิน หรือจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำ
สักเล็กน้อย ที่สำคัญต้องมีวินัย ในการผ่อนชำระ หากหมดภาระหนี้แล้ว
ไม่ควรก่อหนี้ใหม่เพิ่มอีกเป็นอันข าด เพ ราะจะทำให้มีหนี้ ไม่หมดสิ้น
มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ขายทรัพย์สินที่ขายได้ออกไปเป็นเงินสด เพื่อนำมาปิดหนี้ให้ได้
มากที่สุด หากมีหนี้สินมากให้เลือกปิดทีละรายการที่สามารถปิดหนี้ได้
เพื่อให้เหลือจำนวนเจ้าหนี้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่สามารถทำได้
หรือไม่มีทรัพย์สินที่สามารถขายเพื่อปลดหนี้ได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการของศาล
ในระหว่างนั้นแนะนำให้เก็บเงินให้มากที่สุด อย่าได้หลงระเริงกับ
เงินที่มี ต้องเตรียมสะสมเงินเพื่อเคลียร์หนี้สินทั้งหมด
5. สำรวจภาระหนี้สินที่มีอยู่
ควรแยกแบ่งประเภทหนี้สินที่มี แยกประเภทหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ย
ที่ต้องชำระ อัตราขั้นต่ำที่ต้องชำระ จากนั้นให้คำนวณยอดหนี้ทั้งหมด
คำนวณรายได้ทั้งหมด เรียงลำดับยอดหนี้ที่สำคัญจากมากไปหาน้อย
6. หนี้สำคัญจ่ายก่อน
โดยเฉพาะหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ส่วนหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล
ให้จ่ายเท่าที่จ่ายได้โดยเลือกจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน และติดต่อขอประนอมหนี้
ขอผ่อนจ่ายในแต่ละเดือน และควรติดต่อเจ้าหนี้อยู่ตลอด อย่าคิดหนีหนี้