1. คนรวยปฏิเสธเก่ง พอๆ กับการตอบตกลง
นั่นคือ คนเรา ควรปฏิเสธถ้ามีใครมาชวนทำอะไร ที่ไม่อยู่ในเป้าหมายเรา
เราก็ควรปฏิเสธเขาไป และการตอบปฏิเสธคนอื่น บางทีเป็นการตอบตกลงกับตัวเอง
คนเราส่วนมากมีนิสัยเกรงใจคนอื่น ทำให้ตกเป็นเหยื่อ ต่อผู้ที่หวังผลประโยชน์ได้
ปฏิเสธไม่เป็นชีวิตลำเค็ญแน่ๆ ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน การปฏิเสธ
สิ่งที่อยู่นอกเหนือเป้าหมายก็จะง่ายขึ้น หากมีใครชักชวนไปขายอะไร แล้วเทตามไปลงทุนด้วย
โดยไม่ได้วิเคราะห์ ปล่อยให้ความโลภครอบงำ ก็อาจทำให้เราเสี ยหลัก
จนไปไม่ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าคุณทำอะไรได้ดี ก็อย่าทำสิ่งนั้นฟรีๆ ให้กับใคร อย่างเช่น
มักมีญาติสนิท มิตรสหายขอให้ทำให้ฟรีๆ พอคุณให้เขาฟรีหนึ่งครั้ง
ต่อไปจะคิดเงินก็คงยาก แต่ว่านะทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายคนที่ไม่ได้ทำอาชีพเดียวกับคุณ
เขาไม่เข้าใจนะว่า คุณต้องลงทุนอะไรบ้าง น้ำใจมีให้กันได้แบบพอดีๆ มิเช่นนั้น
จะถูกเอาเปรียบ เวลาและความสามารถเป็นต้นทุนที่ประเมินค่าไม่ได้
การจะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ใน 1 % นั้น คุณก็ต้องเปลี่ยนความคิด..ให้เหมือนคนรวยซะก่อน
2. คนรวยนั้น พวกเขาเน้นพัฒนาจุดแข็ง มากกว่าอุดจุดอ่อน
คือคนเราควรเก่งด้านใดด้านหนึ่งให้สุดไปเลย มองหาจุดแข็ง
ของตัวเองให้ได้ ค้นหาตัวเองให้เจอ จากนั้นทำมันให้ดีที่สุด
เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง เก่งจริงด้านเดียวก็หากินได้
3. เวลาเป็นสิ่งมีค่า อย่าใช้แบบไม่เห็นค่า
คนรวยไม่เสียเวลากับเรื่องไร้สาระหรอกนะ จงติดตามข่ าวสารบ้านเมืองบ้าง
เพื่อปรับตัวให้ทันสมัย เรื่องของชาวบ้ านเบาๆ ลงก็ได้ อย่ามัวแต่แสวงหา
ความบันเทิง จนลืมพัฒนาตนเองเวลาเป็นของมีค่า
อย่าเสียเวลาทิ้งเปล่าๆ โดยไม่ได้อะไรกลับคืนมา
4. หาเงิน มากกว่าการหาวิธีประหยัด
นี่คือความจริงข้อหนึ่ง เพราะไม่มีเศรษฐีท่านใด ร่ำรวยจากการประหยัด
เพราะความร่ำรวยเกิดจากการลงทุน ลงแรง ใช้เวลากันทั้งนั้น
แต่ก็ไม่ได้แปลว่าให้เอาเงินไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จนไม่มีเงินเหลือ
จริงอยู่ที่เศรษฐีส่วนใหญ่ มักมีนิสัยประหยัด เพราะพวกเขามักคิดเสมอว่า
เงินที่เขาประหยัดได้ สามารถนำไปสร้างร ายได้ให้งอกเงยได้ และการออมเป็นสิ่งสำคัญ
แต่อย่าลืมว่า เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ในถุง มันจะไม่มีวันเติบโต เราอย่าหวังรวยจากการฝากเงิน
อย่ามัวประหยัด จนไม่กล้าลงทุนทำอะไรเลย
ให้ถามตัวเองเสมอว่าการประหยัดครั้งนี้.. ทำให้เราเสียผลประโยชน์อย่างไรบ้ าง
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่ถ้าลงทุน เรื่องใดที่พัฒนาชีวิตของเราได้
ฉะนั้น อย่าเสียดาย เช่น จ่ายสมั ครค อ ร์สเรียนหาความรู้ ฝึกทักษะอาชีพ
เพื่อหาร ายได้พิเศษเพิ่มเติม ถ้าค่าค อ ร์สไม่กี่ร้อยบาท ถ้าฝึกแล้ว
สามารถสร้างร ายได้เพิ่มหลักหมื่นบาทต่อเดือน คุณจะยังเสียดายเงินมั้ยล่ะ
มีหลายครั้งการประหยัดก็เสียประโยชน์ เช่น การเดินเลือกซื้อของ 1 ชม.
โดยไล่ถามเทียบราคาไปทั่ว เพื่อประหยัดเงินแค่ 20 บาท แบบนี้น่ะ มันไม่คุ้มเลย
เพราะใน 1 ชั่ วโมงนั้นสามารถนำไปอ่ า นหนังสือ หาความรู้เพิ่มเติมได้มากมาย
บางคนใช้เวลาทั้งวัน เที ยบร าคาเพื่อซื้อราคาถูกกว่า แค่ไม่กี่บาท
สิ่งที่เราให้ความสนใจจะขยายใหญ่เสมอ ถ้าเราโฟกัสไม่ให้เงินหาย
เงินก็จะหาย ที่หายก็เพราะว่า ไม่มีเวลาไปสร้างเพิ่มไงล่ะ โฟกัสที่ประตู ก็ได้ประตู
มัวแต่หาทางไม่ให้เงินเล็ด เงินก็เลยยิ่งเล็ด แต่คนรวยเขาจะคิดแต่คำว่าลงทุน
โอกาสคนรวย จึงไม่ได้โฟกัสที่เงิน เขาโฟกัสที่เนื้องาน คำในส ม อ งที่ต่างกัน
ก็ทำให้ชีวิตคนเราต่างกันได้ ถ้าไม่อย ากให้ชีวิตฟุ่มเฟือย ให้โฟกัส
ในการหา มากกว่าการหวงนะ รู้มั้ย!