ทำไมเราไม่ควรเสียดาย หากทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนมา
ต อ น ที่ยังเป็นเด็ก นักเรียนหลายคน ต่างเชื่อเสมอว่า ถ้าได้ตั้งใจเรียนสอบติดคณะที่ใช่ ยิ่งมีโอกาสได้งานที่ดี เ งิน
เดือนที่ดี และยิ่งเป็นอาชีพที่ใครก็รู้จักเช่นข้าราชการ,วิศวกร นักธุรกิจยิ่งน่าภูมิใจไปใหญ่เ พ ร า ะนอกจากเงินเดือน
ที่ได้สมน้ำสมเนื้อ มีจำนวนมากพอที่จะจุนเจือครอบครัวได้ มีสวัสดิการรองรับให้สุขสบาย ยังเป็นอาชีพที่ถือว่า
“มีหน้ามีตา”ใครก็ต้อนรับกันหมดแต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วอาชีพที่“มีหน้ามีตา”ในสังคมไม่ได้เหมาะกับทุกคน
เสมอไปและในแต่ละอาชีพเขาก็มีการกำหนดอัตรารับสมัครแต่ละปีที่ค่อนข้างจำกัดน่ะสิ!“แล้วจะเรียนไปทำไม ถ้า
สุดท้ายก็ได้งานที่ไม่ตรงสาย/งานที่น้อยคนจะรู้จัก/เ งินเดือนที่ไม่ได้มากมายอะไร?”
คำถามนี้จะได้คำตอบที่เครียดมากเลย เ พ ร า ะ มันเต็มไปด้วยความคาดหวังที่คิดว่า “เรามีทางเลือกอยู่ไม่กี่อย่ างใน
ชีวิต”แต่ลองเปลี่ยนเป็นความคิด “ฉันทำงานอะไรก็ได้ไม่ว่าจะตรงสายหรือไม่ก็ตาม”มันอาจดูประโยคขี้แพ้ในสายตา
บางคนแต่ถ้าคิดๆดูแล้วมันได้ความสบายใจเยอะกว่าการตั้งคำถามแบบแรกเ พ ร า ะความเป็นจริงของชีวิตคือ
1 : มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในตัวเอง “แตกต่าง”กันไปเราไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกันหมด
2 : แม้แต่ในคนเดียวกัน ยังมีความสามารถที่หลากหลายเช่น…เป็นหมอ แต่ก็เล่นดนตรีเก่ง ทำอาหารเก่ง เป็นศิลปิน
แต่ก็คำนวณเก่งขับรถเก่ง
3 : สิ่งที่เรา“เก่ง”ไม่จำเป็น ต้องออกมาในรูปแบบวิชาชีพเช่น…หมอ,วิศวกร,พย าบาล มันอาจเป็นพรสวรรค์ก็ได้ เป็น
ความรู้อะไรก็ได้ที่เราเอาจริงกับมันเช่น…การทำอาหาร การจัดสวน,การออกแบบ(ไม่อย่ างงั้นเราคงไม่เห็นนักธุรกิจ
หน้าใหม่หลายคนผุดขึ้นเป็นด อกเห็ดหรอก)
4 : สิ่งที่เราเรียนมาเป็นสิบเป็นร้อยกว่าวิชา มันคือ“การหล่อหลอม”หลายวิชาไม่ได้สอนเราทางตรง แต่ให้เราค่อย ๆ
ซึมซับข้อดีแต่อย่ างไปเอง เช่นฝึกความอดทน,ฝึกความประณีต,ฝึกทักษะการเข้าสังคมในครั้งหนึ่งที่เราไม่เห็น
ประโยชน์ว่าจะใช้อะไรได้จริง พอโตขึ้นอีกหน่อยมันก็ต้องมีบ้างแหละ ที่เรานึกอะไรขึ้นมา จนต้องไปหาอ่ าน
ปัดฝุ่นตำราอีกครั้ง ทุกความรู้ที่เราได้รับไม่เคยสูญเปล่าแค่เรามองไม่เห็นค่ามันเองลองนึกดูให้ดีสิ!
5 : ในรั้วโรงเรียน-มหาวิทย าลัย ต่อให้เราได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งแค่ไหน ขอบเขตความรู้ มันก็เป็นเพียงความรู้
ในรั้วเท่านั้นโลกของวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้น เรายังต้องรู้เห็นอีกมาก เรียนรู้กันอีกย าวลองผิดลองถูกกันอีกเยอะดังนั้น
จะมาฟั นธงว่าเรียนมาสายวิทย์ต้องทำงานสายวิทย์ เรียนสายภาษา ต้องทำงานสายภาษามันก็ไม่ถูกเสมอไป
6 : มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่มนุษย์เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่“ใช่”ค่อยๆเรียนรู้ค่อยๆปรับตัวไปสิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้
บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุด สิ่งที่เราเก่งในตอนนี้ ในวันข้างหน้ามันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำ เ พ ร า ะอาจมีหลาย
ปัจจัยให้คิดมากขึ้นเช่นจำเป็นต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้เ พ ร า ะเงิ นไม่พอ จำเป็นต้องทำงานหาเงินก่อนแล้ว
ค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบ…เราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย(ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
7 : มนุษย์เราควรมีทางเลือกให้กับชีวิตไว้หลายด้านหรือ“มีแผนสำรอง”เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นตัวเองจนเกินไป เช่น
ถ้าวุฒิที่เราเรียนมามันหางานย าก จะยอมรึเปล่า ที่เอาวุฒิต่ำกว่านี้ หางานไปก่อน?ถ้าเราไม่ได้อาชีพนี้เรายอมได้
รึเปล่า ที่จะทำอาชีพอื่นไปพลางๆก่อน?ความฝันสิ่งที่ใช่มันไม่ควรเป็น สิ่งที่ได้ดั่งใจในทันทีมันเป็นเรื่องธรรมดา
มากๆที่ต้องแลกกับความเหนื่อย ความพย าย ามหลายเท่าตัวจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่ างใด หากจะพบว่า
ทำไมหมอบางคนถึงแต่งเพลงได้?
ทำไมบางคนเรียนวิชาชีพ แต่มาเป็นศิลปิน?
ทำไมบางคน เรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จ?
ถ้ายังไม่เข้าในในข้อนี้ลองย้อนกลับไปอ่า นข้อ 6 อีกรอบ ขึ้นชื่อว่า“ความรู้”เราได้รับมาถึงจะไม่ใช้ในทันที ก็ไม่ควร
เสียดาย ขึ้นชื่อว่า“ความฝัน”ถึงจะยังไม่ใช่ในวันนี้ ใช่ว่าวันหน้าจะเป็นไปไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเราล้วนๆว่า…“รู้ตัวดีหรือ
ไม่ว่าทำอะไรอยู่?”และ“พร้อมจะยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ชีวิตรึเปล่า?”อย่ าลืมว่า…โลกเรากลม และมีหลายมิติ
ใช่ว่าจะต้องมองเพียงด้านเดียว