1 : พักไว้ก่อนหากคิดจะลงทุนเพิ่ม
ในยามเศรษฐกิจไม่ดี แน่นอนว่า.. การค้าขายหรือผลกำไรย่อมลดลง
ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างคิดหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
เพื่อดึงยอดขายและกำไรกลับมา หนึ่งในวิธีการเพิ่มกำไรคือการลงทุนเพิ่ม
จะเป็นการเปิดสาขาใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออย่างอื่น
ที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ตรงนี้ขอบอกว่า พักไว้ก่อนดีกว่า
2 : หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ใหม่
อะไรที่เหนือความจำเป็น พักไว้ก่อนเถอะค่ะ.. ไม่ว่าคุณจะวางแผนเปลี่ยนรถคันใหม่
ให้ใหญ่กว่าเดิม หรือซื้อบ้านหลังที่สองไว้ตากอากาศ เพราะตอนเศรษฐกิจอ่อนแอแบบนี้
อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ ถนอมเนื้อถนอมตัว อย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นภาระเลย
จะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบห่วงหน้าพะวงหลัง
3 : อย่านำเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น
6 เท่า ของรายจ่ายรายเดือนคือเงินสำรองฉุกเฉิ นขั้นต่ำที่กำหนดไว้
ตามหลักการวางแผนการเงินส่วนบุคคล วัตถุประสงค์หลักคื
เป็นเงินที่จะสามารถนำมาเยีย วย าเรื่องฉุกเฉิ นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นตกงาน ประสบอุบั ติเ หตุ ธุรกิจประสบปัญหา ฯลฯ
บางคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือธุรกิจ แต่นำเงินส่วนนี้มาใช้
เมื่อถึงคราวเกิดปัญหาจริงๆ ก็ไม่เหลือเงินสำรองไว้ใช้
4 : อย่าลงทุนหวือหวา หวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้
คนที่ตั้งหน้าตั้งตาจะหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำ โดยนำความโลภเป็นที่ตั้ง อาจนำพาตัวเอง
ไปลงทุนในช่องทางที่หวือหวาโดยไม่มีความรู้ เช่น พวกหุ้นปั่นทั้งหลาย ช่องทางการลงทุน
ที่ไม่ชอบมาพากล เช่น พวกแช ร์ลูกโ ซ่ หรือการหลอกให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
ที่อาจไม่มีอยู่จริง โดยมีผลตอบแทนสูงเย้ายวนใจ ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ และเป็นกอบเป็นกำ
ในระยะเวลาอันรวดเร็วหรอกค่ะ ที่สำคัญอย่าลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้เป็นที่ดีที่สุด
5 : อย่าค้ำประกันให้ใครเป็นอันขาด
ข้อนี้อย่าว่าแต่ในยามเศรษฐกิจไม่ดีเลย บางคนตั้งปณิธานไว้
จะรักกันแค่ไหนก็จะไม่ค้ำประกั นให้ใครเด็ดข าด
หลายคนต้องเจอบทเรียน ชีวิตสะดุดจากการค้ำประกั นให้ผู้อื่น
เข้าข่ าย “เนื้ อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่งแต่เอากระดูกมาแขวนคอ”
เพราะการค้ำประกั น คือการสัญญาว่า บุคคลหนึ่งจะชดใช้หนี้แทนลูกหนี้
หากลูกหนี้ไม่ยอมชำร ะหนี้หรือไม่สามารถชำร ะหนี้ได้